วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เที่ยว สะพานมอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


ขอบคุณภาพ pantip.com
สำหรับท่านชอบชมความธรรมชาติ วิถีชีวิตชนบทยังหาชมได้ สังขระ หมู่บ้านเล็กซึ่งเดิมเป็นชาวเขมร และ ชาวลาว ผสมผสานกัน สถานที่มีชื่อเสียงคือ"สะพานมอญ" หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ สัญลักษณ์ของ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในไทย และยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก สร้างมานานกว่า 30 ปี มีความยาว 850 ม. สะพานนี้ใช้ข้ามแม่น้ำซองกาเรียไปยังหมู่บ้านมอญ นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสัมผัสธรรมชาติและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ยื่งช่วงเช้า 6.00-7.00 น. เป็นช่วงที่จะได้เห็นวิถีชีวิตชาวมอญ ที่เดินใส่บาตรพระทุกเช้า ช่วงสายๆ หากเดินข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้านมอญ ก็สามารถเที่ยวชมบ้านเรือน ซื้อของที่ระลึก หรือจะแวะชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย อาหารพื้นบ้านชาวมอญก็ได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เที่ยวใกล้เคียงอื่นๆ อาทิ ตลาดวัดวังก์, วัดวังก์วิเวการาม, เจดีย์พุทธคยา ฯลฯ อีกด้วย


สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า  เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530  โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี

ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง[4] และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา

หลังจากผ่านไป 1 ปี การซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ก็ยังไม่เสร็จ และเกินสัญญาว่าจ้าง 120 วัน เนื่องจากมีปัญหาด้านบริษัทผู้รับเหมาที่มีปัญหาไม่สามารถนำไม้ที่ต้องขนส่งมาจากภาคอีสานมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย

ในที่สุด สะพานอุตตมานุสรณ์ก็ได้รับการสร้างจากทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอสังขละบุรี ใช้เวลาเพียงแค่ 29 วัน และมีพิธีเปิดใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันครบรอบชาตกาล 104 ปี หลวงพ่ออุตตมะ โดยจะมีการแสดงแสงสีเสียงด้วย