วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลดหน้าท้องเบนสวยเห็นผลเร็ว







หากต้องการชมรายละเอียด "กดชมต่อ"....  ที่นี้ครับ ยูทูบ...

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

คาเมลเลีย (Camellia) หรือ “กุหลาบเหมันต์”

Camellia japonica 'Prince Frederick William' is an ornamental Camellia cultivar, believed to have originated from a seedling grown by Silas Sheather at his nursery in Parramatta, Australia. It was first described in the Sheather & Co. Nursery Catalogue in 1872 and is still a most popular camellia in Australia.
 Wikipedia, the free encyclopedia
Camellia japonica 'The Czar' is a camellia cultivar that originated in Australia in 1913.
 Wikipedia, the free encyclopedia
ต้นคาเมลเลีย (Camellia) หรือ “กุหลาบเหมันต์” พันธุ์ญี่ปุ่นนี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia japonica เป็นต้นไม้ในตระกูล "ดอกชา" (tea flower) ในเขตหนาว มีถิ่นกำเนิดในเขตเมืองชานตง (山东) ประเทศจีน ถือเป็นดอกไม้มงคลใช้บูชาเทพเจ้าในเทศกาลปีใหม่ของจีน อนุโมทนาบุญกับกัลฯ จันทร์พร เจติยวรรณ ที่ถวายต้นคาเมลเลียหนึ่งคู่มาเป็นไม้พุ่มประดับสวนบริเวณสนามหญ้า
Cr: Wat Phra Dhammakaya Benelux
Cr: Wat Phra Dhammakaya Benelux
Cr: Wat Phra Dhammakaya Benelux
Camellia × williamsii is a cultivar group of hybrid evergreen shrubs that are derived from a crossing of Camellia saluenensis with Camellia japonica.[1] It was originally bred in Cornwall by John Charles Williams.
 Wikipedia, the free encyclopedia
Cr: Wikipedia, the free encyclopedia
 Cr: Wikipedia, the free encyclopedia
 Cr: Wikipedia, the free encyclopedia
Camellia japonica (the Japanese camellia) is one of the best known species of the genus Camellia. Sometimes called the Rose of winter, it belongs to the Theaceae family. It is the official state flower of Alabama. There are thousands of cultivars of C. japonica in cultivation, with many different colors and forms of flowers.

In the wild, it is found in mainland China (Shandong, east Zhejiang), Taiwan, southern Korea and southern Japan. It grows in forests, at altitudes of around 300–1,100 metres (980–3,610 ft)..
 Cr: Wikipedia, the free encyclopedia

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ไม้สักโบราณกว่า 70 ปี

ภาพ http://goo.gl/UKUtgs

ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่อาศัยตำบลแม่วิน ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ว่า ชาวบ้านพบโรงพักเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขอให้เดินทางมาตรวจสอบ ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยที่อำเภอแม่วิน ซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 60 กิโลเมตร พบโรงพักเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยตัวโรงพักสร้างจากไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงด้วยสังกะสี ปัจจุบันยังเป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่

สอบถาม พ.ต.อ.วงศพัทธ์ จำรูญพันธุ์ รักษาราชการแทน ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรแม่วาง กล่าวว่า โรงพักแห่งนี้ อายุกว่า 70 ปีแล้ว สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยังเจ้าหน้าที่ตำรวจยังใช้งานอยู่จนปัจจุบัน

ภาพ http://goo.gl/UKUtgs

“โรงพักดังกล่าวในอดีตคือสถานีตำรวจภูธรตำบลแม่วิน ในอดีตสมัยนั้นการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถึงแม้จะอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 60 กิโลเมตร ประกอบกับพื้นที่ตำบลแม่วิน เป็นหนึ่งในเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จะเดินทางผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปยังประเทศพม่า นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวติดต่อกับอำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แจ่ม ซึ่งสมัยหนึ่งมีการเคลื่อนไหวของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือผกค. และมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด จึงได้ตั้งโรงพักแห่งนี้ขึ้นมาตั้งแต่สมัยนั้น แต่ปัจจุบันแยกอำเภอแม่วาง ออกจากอำเภอสันป่าตอง จึงทำให้สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่วิน สมัยนั้นถูกยุบรวมกับสถานีตำรวจภูธรแม่วาง จ.เชียงใหม่ปัจจุบัน แต่เนื่องจากพื้นที่ต.แม่วิน อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่วางนับ 20 กิโลเมตร ทำให้ยังคงโรงพักแห่งนี้ไว้ โดยตั้งเป็นหน่วยบริการประชาชนต.แม่วินจนถึงปัจจุบัน

 พ.พ.อ.วงศพัทธ์ กล่าวอีกว่า ถึงแม้ได้ยุบรวมสถานีตำรวจภูธรตำบลแม่วิน มารวมกับสถานีตำรวจภูธรแม่วาง เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา ทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้มอบนโยบายอนุรักษ์โรงพักเก่าเอาไว้เนื่องจากยังสามารถใช้การได้

ภาพ http://goo.gl/UKUtgs

 สำหรับโรงพักแม่วินประกอบด้วยตัวอาคารสองชั้น ที่ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง บนชั้นสองมีห้องขังและห้องทำงาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนทางทิศตะวันตกของตัวโรงพัก เป็นบ้านพักของเจ้าหน้าที่ตำรวจสร้างพร้อมกับตัวโรงพักซึ่งอาคารทั้งสองหลัง หลังคามุงด้วยสังกะสีตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงปัจจุบัน หลังจากได้เปลี่ยนจากสถานีตำรวจ มาเป็นหน่วยบริการประชาชนตำบลแม่วิน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากโรงพักแม่วางสลับสับเปลี่ยนหมุนเข้าเวรประจำการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

เชียงใหม่พบโรงพักโบราณ สร้างจากไม้สักสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อายุกว่า 70 ปี
..........
Cr: http://goo.gl/UKUtgs

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สัมผัสชมธรรมชาติ เนินช้าง กาญจนบุรี

เครดิตบทความhttp://goo.gl/hn6tGt
เนินช้างศึก เป็นจุดชมวิวบนยอดเขา ในเขตพรมแดนไทย-พม่า นักท่องเที่ยวที่มาเหมืองปิล๊อก นิยมมาแวะชมวิวที่เห็นทิวทัศน์ได้รอบตัวแบบ 360 องศา โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว มีหมอกปกคลุมตามยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมาก

เนินช้างศึก เป็นฐานปฏิบัติการของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 135 (ฐานช้างศึก) บางคนก็เรียก ยอดดอยปิล๊อก หรือ ต่องปะแล เป็นฐาน ตชด ที่.ตั้งอยู่ในเส้นพรมแดนไทย-พม่า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,053 เมตร มีบ้านพักเจ้าหน้าที่ ลาน ฮ. และจุดชมวิวในมุมสูง เห็นวิวทั้งฝั่งไทยและพม่า ฝั่งไทยจะเห็นจุดชมวิวเนินเสาธง และหมู่บ้านอีต่อง อยู่ในหุบเขาด้านล่าง ส่วนฝั่งพม่าจะเห็นเทือกเขาและแนวป่าที่เป็นแนวเขาสลับซับซ้อน และผืนป่าเดียวกันกับไทยไกลออกไปสุดสายตา มีสถานีส่งก๊าซในฝั่งพม่าอยู่ไม่ไกลจากเขตชายแดน

นักท่องเที่ยวขาลุย นิยมมากางเต็นท์กันมาก ส่วนใหญ่จะมาเที่ยวและพักค้างแรมในฤดูหนาวคือช่วงพฤศจิกายน - มกราคม เพราะจะได้สัมผัสหมอก และอากาศหนาวเย็น ได้ชมวิวพระอาทิตย์ตก ยามค่ำคืนจะเห็นความสวยงามของหมู่ดาวบนท้องฟ้า และกลุ่มแสงไฟจากสถานีส่งก๊าซในหุบเขาฝั่งพม่า ได้ชมพระอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางหุบเขา และในวันที่ท้องฟ้าเปิดสามารถมองเห็นวิวทางฝั่งพม่าได้ไกลถึงทะเลอันดามัน

บริเวณเนินช้างศึกนี้ สามารถกางเต็นท์ได้ทั้งบริเวณพื้นหญ้า และบริเวณลานจอด ฮ. ด้านบนมีที่จอดรถได้ปลอดภัย บริเวณนี้มีเพียงที่พักเจ้าหน้าที่ ตชด. และห้องสุขา ไม่มีบ้านพัก ร้านค้า ร้านอาหาร หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ


มุมมองจาก 'เนินช้างศึก' ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ นักท่องเที่ยวนิยมมากางเต็นท์กันที่นี่ เพราะสามารถชมวิวได้สุดลูกหูลูกตา 360 องศา และสามารถมองเห็นเขาช้างเผือกได้อย่างชัดเจน การเดินทางมาที่นี่ขอแนะนำให้มาในเวลากลางวัน เพราะเส้นทางอาจลำบากเล็กน้อยบางช่วง แต่รับประกันความสวยงามทั้งตอนเช้ายามพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกช่วงยามเย็น
Cr: http://goo.gl/hn6tGt

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เที่ยว สะพานมอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


ขอบคุณภาพ pantip.com
สำหรับท่านชอบชมความธรรมชาติ วิถีชีวิตชนบทยังหาชมได้ สังขระ หมู่บ้านเล็กซึ่งเดิมเป็นชาวเขมร และ ชาวลาว ผสมผสานกัน สถานที่มีชื่อเสียงคือ"สะพานมอญ" หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ สัญลักษณ์ของ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในไทย และยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก สร้างมานานกว่า 30 ปี มีความยาว 850 ม. สะพานนี้ใช้ข้ามแม่น้ำซองกาเรียไปยังหมู่บ้านมอญ นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสัมผัสธรรมชาติและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ยื่งช่วงเช้า 6.00-7.00 น. เป็นช่วงที่จะได้เห็นวิถีชีวิตชาวมอญ ที่เดินใส่บาตรพระทุกเช้า ช่วงสายๆ หากเดินข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้านมอญ ก็สามารถเที่ยวชมบ้านเรือน ซื้อของที่ระลึก หรือจะแวะชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย อาหารพื้นบ้านชาวมอญก็ได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่เที่ยวใกล้เคียงอื่นๆ อาทิ ตลาดวัดวังก์, วัดวังก์วิเวการาม, เจดีย์พุทธคยา ฯลฯ อีกด้วย


สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า  เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530  โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี

ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง[4] และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา

หลังจากผ่านไป 1 ปี การซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ก็ยังไม่เสร็จ และเกินสัญญาว่าจ้าง 120 วัน เนื่องจากมีปัญหาด้านบริษัทผู้รับเหมาที่มีปัญหาไม่สามารถนำไม้ที่ต้องขนส่งมาจากภาคอีสานมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย

ในที่สุด สะพานอุตตมานุสรณ์ก็ได้รับการสร้างจากทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอสังขละบุรี ใช้เวลาเพียงแค่ 29 วัน และมีพิธีเปิดใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันครบรอบชาตกาล 104 ปี หลวงพ่ออุตตมะ โดยจะมีการแสดงแสงสีเสียงด้วย

นักท่องเที่ยวแห่ชม“ดอกเสี้ยว บาน “ภูชี้ฟ้า”

ดอกเสี้ยวบานอีกแล้ว หลายท่านที่เคยได้ยินชื่อเสียง ความสวยของ ดอกเสี้ยว หรือ ดอกชงโค ไม่น่น่าจะพลาดชมกัน....สำหรับนักชมชอบธรรมชาติด้วยแล้ว กำลังดีเลยกำลังเหมาะ ชอบดอกเสี้ยว...
วนอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ฟ้าทอง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ภูชี้ฟ้า ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย–ลาว ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ภูชี้ฟ้า" จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,200 ถึง 1,628 เมตร เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยบุรี ประเทศลาว


ถ้าพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยว ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย หลายคนก็จะนึกถึงภูชี้ฟ้า ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวมักขึ้นมาชื่นชมความงาม และอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งบางปีก็อาจจะเห็นน้ำแข็งบนยอดหญ้า หรือ ที่เรียกกันว่าเหมยขาบ นั่นเอง อากาศบริสุทธิ์และความสวยงาม ที้ไม่อาจพบเจอได้ในเมืองใหญ่หรือห้างสรรพสินค้า เป็นแรงดึงดูดใจจน หลายคนมาเยือนแล้วมาอีก และจดจำได้รู้ลืม



คำว่า เฮือน เป็นคำเรียกชื่อเรือนตามภาษาคำเมือง ซึ่งแปลโดยตรงคือ เรือนดอกเสี้ยว ก็คือ เรือนที่มีต้นดอกเสี้ยวอยู่รอบ ดอกเสี้ยวจะบานช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ดอกสีขาวปนชมพู จะ บานสะพรั่งเต็มดอย บ้านพักแบบธรรมชาติ มีแอร์ (ธรรมชาติ)ทุกห้อง สะอาด ปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว รอทุกท่านมาชื่นชมในบรรยากาศ อาหารเครื่องดื่มเรามีบริการท่าน






ขอบคุณภาพจาก เฮือนดอกเสี้ยว - ภูชี้ฟ้า

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปริศนา กัมพูสิริ พิธีกรรายการ “เอ๊ะใครหว่า” วาไรตี้เกมโชว์ทางช่อง 8 กับแอคคอร์ด

แอคคอร์ด สีเทาคันใหม่กริบที่ถอยเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2558 วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 6:30 น
แอคคอร์ด สีเทาคันใหม่กริบที่ถอยเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2558 วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 6:30 น
.........................
ขอบคุณภาพ ปริศนา กัมพูสิริ

ชมธรรมชาติดอยค้ำฟ้า ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


ดอยค้ำฟ้า ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เบื้องหน้าจะเห็นดอยหลวงเชียงดาวตั้งเด่นเป็นสง่า ที่พักของที่นี่มี 2 แบบ คือ นอนเต็นท์ กางฟรี! ถ้าไม่มี เช่าได้หลังละ 200 บาทเท่านั้น หรือจะนอนบ้านพักก็ได้หัวละ 300 บาท สำหรับอากาศที่นี่หนาวเย็นตลอดทั้งปีเนื่องจากอยู่สูง แม้ช่วงเดือน เม.ย. ก็มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาฯ หากเป็นช่วงหน้าฝน เดือน มิ.ย. - ต.ค. อาจจะได้เจอทะเลหมอกสวยๆ แต่ถ้าเด็ดสุดก็ต้องช่วง ธ.ค.-ม.ค. จะมีวิวที่สวยงามที่สุด


นางพญาเสือโคร่ง
ทางเกรดใหม่ ฝุ่นเยอะขึ้น รถเก๋ง รถตู้ ยังขึ้นไม่ได้ ใครจะไปควรสวมใส่ รองเท้า เสื้อผ้าเก่าๆ แขนขายาว ป้องกัน ตัวคุ่น กัดได้ด้วย
เพื่อความเข้าใจตรงกัน และใช้ในการสื่อสารให้ข้อมูล


แก่นักท่องเที่ยว ในการขึ้นลงดอยค้ำฟ้า ป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากเส้นทางแคบ ลาดชัน
กำหนดเวลา ลงดอยค้ำฟ้า เวลา 06.00 น.-13.00 น.ของทุกวัน
กำหนดเวลา ขึ้นดอยค้ำฟ้า เวลา 14.00 น.- 18.00 น.ของทุกวัน
ค่ารถบริการ ขึ้น - พาเที่ยวบนดอยค้ำฟ้าถึงดงนางพญาเสือโคร่งหน่วยใน - ลงดอยค้ำฟ้า คนละ 300 บาท โดยต้องนัดหมายเวลาล่วงหน้า 084 516 9546 จุดเปลี่ยนรถ ที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนคอง หรือ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง เนื่องจากมีสุขาและมีไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง และสะดวกในการหาอาหาร ของคนขับรถ ที่ไม่ได้ขึ้นดอย






.......................
ขอบคุณภาพสวยและข้อมูล"เฟส ดอยค้ำฟ้า"

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตรุษจีนปีนี้ขอแนะนำ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ย่านบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

เครดิตภาพ campaign.edtguide.com
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (ตัวเต็ม: 普頌皇恩寺, ตัวย่อ: 普頌皇恩寺, พินอิน: Pǔ sòng huáng ēn sì ผู่ซ่งหวางเอินสื้อ, ฮกเกี้ยน: โพ้ซงอ๋องอุนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: โพ้วซึงอ๊วงอึ๋นยี่ ) หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดมหายานในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บนพื้นที่ 12 ไร่เศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539

เครดิตภาพ http://goo.gl/uvGoj9
ประวัติ
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้มอบหมายให้พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ และพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ โดยเปิดให้พุทธบริษัทชาวไทย-ชาวจีนได้ร่วมบุญ ในการจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสดังกล่าว

โดยมีนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างวัดฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ โดยเมื่อเวลา 15.00 น. วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วัด

ปัจจุบัน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12 ปี (2539-2551) ในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่าง ๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวปรัชญาและคติธรรมทางศาสนาพุทธจีนนิกายฝ่ายมหายาน อันประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์ ห้องปฏิบัติธรรม ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552
ด้านหน้าวัด
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ วัดเล่งเน่ยยี่ 2
ที่ตั้ง 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
ประเภท วัดจีน
นิกาย คณะสงฆ์จีนนิกาย (มหายาน)
พระประธาน พระพุทธเจ้าสามพระองค์
พระพุทธรูปสำคัญ พระกวนอิมโพธิสัตว์
วัดจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เวลาทำการ ทุกวัน 06.00-18.00 น.
จุดสนใจ พระอุโบสถ
กิจกรรม วันตรุษจีน เทศกาลกินเจ
การถ่ายภาพ ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภาพทางเข้าวัดเล่งเน่ยยี่ 2
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว
จากแคราย ใช้ถนนงามวงศ์วาน ตรงมาจนถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาเข้าเมืองบางบัวทอง จากนั้นจะมีป้ายบอกเมื่อถึงวัด
จากปิ่นเกล้า บางแค ใช้ถนนกาญจนาภิเษกตรงมาทางบางปะอิน ก่อนถึงสะพานข้ามคลองพระพิมลราชา ให้กลับรถใต้สะพานแล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ จะมีป้ายบอกทางมาวัด
เครดิจภาพ travel.amazingtourthailand.com

รถโดยสารประจำทาง
127 บางบัวทอง-สนามหลวง
134,ปอ.134 บางบัวทอง-หมอชิต2 (ลงที่สี่แยกบางพลูแล้วต่อรถ 1024 หรือ 1003)
ปอ.177 วงกลมบางบัวทอง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
337 นนทบุรี-ปทุมธานี
364 บางบัวทอง-นพวงศ์
388,ปอ.388 ปากเกร็ด-ศาลายา (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127)
ปอ.516 บางบัวทอง-เทเวศร์ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127)
ปอ.528 ไทรน้อย-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ลงที่สี่แยกบางพลูแล้วต่อรถ 1024 หรือ 1003)
680,ปอ.680 รังสิต-บางใหญ่ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127)
1003 บางบัวทอง-ท่าน้ำนนทบุรี
1024,1024B บางบัวทอง-สะพานพระราม 5
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-พระปิ่นเกล้า
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-พงษ์เพชร
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-งามวงศ์วาน
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-สีลม
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-จตุจักร
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-จตุจักร
รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รถตู้ปรับอากาศ บางใหญ่ซิตี้-บางแค (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 127)
18,69,ปอ.69,203,ปอ.203,รถตู้ปรับอากาศที่มาถึงท่าอิฐ ลงที่สี่แยกท่าอิฐ แล้วต่อรถ ปอ.177 หรือ 1024
รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีปลายทางหมอชิต แล้วต่อรถ 134,ปอ.134,ปอ.177
.................
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติ งิ้วไทย

งิ้วในประเทศไทย
การแสดงงิ้วตามเอกสารเก่าที่สุดที่มีการพูดถึงการแสดงงิ้ว คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเป็นราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 2230 และมีบันทึกอีกช่วงหนึ่งเมื่อครั้งสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี ครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตล่องน้ำมายังพระนคร นอกจากขบวนแห่จะมี โขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์แล้ว ยังมีคณะงิ้วอีก 2 ลำเรือแสดงล่องลงมาด้วยกันอีกด้วย

การแสดงงิ้วในเมืองไทยได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมัยนั้นมีทั้งคณะของทั้งไทยและจีน และยังมีการเปิดโรงเรียนสอนงิ้วและมีโรงงิ้วแสดงเป็นประจำมากมายบนถนนเยาวราช

งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲/戲曲; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยปัจจุบันถือเป็นตัวแทนงิ้วประจำชาติจีน

ในบรรดางิ้วจีนกว่า300ประเภท "งิ้วคุนฉวี่"昆曲 "งิ้วกวางตุ้ง"粤剧/粵劇 และ"งื้วปักกิ่ง"京剧/京劇 ได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และได้ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ ในปี 2001,2009และ2010 ตามลำดับ


ประวัติ
เริ่มต้นสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 1179-1276) ทางภาคใต้ของจีนมีคณะงิ้วที่มีชื่อได้เปิดการแสดงที่มีบทพูดเป็นโคลงกลอนสลับการร้อง ใช้วงเครื่องดีดสีตีเป่าประกอบการแสดง

ทางภาคเหนือนั้น ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 13 ในสมัยราชวงศ์หยวนเกิดรูปแบบของงิ้วขึ้นมาเรียกว่า "จ๋าจวี้" 杂剧/雜劇 โดยมักแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องค์ โดยตัวละครเอกเท่านั้น ที่จะมีบทร้องเป็นทำนองเดียวตลอดเรื่อง ส่วนตัวประกอบอื่นอาศัยการพูดประกอบ ขณะที่อุปรากรฝ่ายเหนือเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูงเรื่องราวที่แสดงจึงมักดัดแปลงมาจากพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ ส่วนทางใต้นั้นผู้คนนิยมดูงิ้วที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน

ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเว่ย เหลียงฝู่ 魏良辅 /魏良輔 (1522-1573) นำนิยายพื้นบ้านดังๆเรียกว่า "คุนฉวี่" 昆曲 มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือกลองและขลุ่ยไม้

ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของเฉียนหลงฮ่องเต้ (1736-1796) ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้งแบบใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลายราชวงศ์ชิง งิ้วจึงมีลักษณะต่างๆกันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉาก เพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉวี่ หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง

สมัยของพระนางซูสีไทเฮา การแสดงงิ้วในเมืองจีนถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด จนกระทั่งสิ้นสมัยของพระนาง คณะงิ้วที่เคยได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชสำนักและขุนนางต่างๆ ก็ต้องหันมาพึ่งตัวเองและแพร่ขยายออกไปสู่ผู้คนทั่วไปมากขึ้น

ลักษณะ
ความโดดเด่นของการแสดงงิ้วนั้น นอกจากลีลาการร่ายรำและการเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างเช่นสีสันของการแต่งหน้าที่แตกต่างกันไป ก็จะบ่งบอกถึงบุคลิกและอุปนิสัยของตัวละครได้

อย่างเช่นแต่งหน้าสีแดง จะมีความหมายไปในทางที่ดี เป็นสัญลักษณ์ของผู้ซื่อสัตย์และกล้าหาญ การแต่งหน้าสีดำมีความหมายเป็นกลาง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ห้าวหาญ ไม่เห็นแก่ตัวและเฉลียวฉลาด หากว่าแต่งหน้าเป็นสีน้ำเงิน ก็จะมีความหมายเป็นกลางเช่นเดียวกันและยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษชาวบ้านอีกด้วย ส่วนการแต่งหน้าที่สีขาวและสีเหลือง มักจะมีความหมายไปทางลบ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เหี้ยมโหดและคดโกง

ประเภทของงิ้ว
งิ้วที่ยอมรับกันว่าเป็นงิ้วที่สมบูรณ์แบบชนิดแรกคือ ละครใต้ (หนานซี่) 南戏/南戲 ของสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ แถบเมืองเวินโจว จนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิง จึงเกิด ‘งิ้วปักกิ่ง’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติ และมีความโดดเด่นมาก เพราะเป็นการแสดงที่เอาความเด่นของงิ้วทุกชนิดมารวมเข้าด้วยกัน มีการแสดงที่โลดโผนกว่างิ้วแต้จิ๋ว มีการร้องในลักษณะของโอเปร่า ร้องลากเสียงเพื่อแสดงพลังเสียง และมีการดัดเสียงร้องเพื่อแสดงศิลปะการใช้เสียงที่หลากหลายด้วย
Cr: https://goo.gl/V843gC